อยากจะเยือน “หลวงพระบาง” เมืองงาม 

 
โทร 089-9246304 , 087-5149753, 02-8867018-9 ( ตลิ่งชัน ) 02-9481866 กด 1 หรือ 0 ติดต่อ พี่ปอง

 

Email : msn : jenchai624@hotmail.com /   ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว เลขที่ 11/ 05588

 

กำหนดการเดินทาง ที่เตรียมเอาไ้ว้้้้้   

 


 

www.programtour.com

 

ตักบาตรข้าวเหนียว

      วิถีของคนหลวงพระบางที่ยังผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น

เพราะ คนหลวงพระบาง เคร่งครัดกับกฎเกณฑ์การ “อนุรักษ์” เมืองของรัฐบาล สปป.ลาวและองค์การยูเนสโก

หลวงพระบางในรอบ 10 ปีหลังเป็นเมืองมรดกโลกจึงมีความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพน้อยมาก
       
วัดวาอารามยังคงสงบงาม ไร้วี่แววพุทธพาณิชย์ ส่วนอาคารบ้านเรือนก็ยังคงลักษณะภายนอกไว้เช่นดังเดิม

จะมีเปลี่ยนแปลงก็เพียงพื้นที่ใช้สอยภายใน ที่ในวันนี้อาคารหลายหลังแปรเปลี่ยนเป็นโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ

ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติธรรมดาของเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์

สถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมลาวที่หอพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งมีคนเปรียบเปรยว่าเป็น“ฝรั่งสวมชฎา”

 

แต่ด้วยความที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลลาวและยูเนสโกอย่างเคร่งครัด

หลวงพระบางในวันนี้จึงยังคงเต็มไปด้วยความสงบงาม ปราศจากทัศนอุจาด อย่างตึกทรงโรมัน

เสากรีก และป้ายโฆษณาที่รกรุงรัง ซึ่งเหมาะสำหรับการเดินชิลล์ ชิลล์

หรือขี่จักรยานเนิบๆ ชมเมืองยิ่งนัก...

       
หลวงพระบาง “เมือง” น่ายล
       
       
สำหรับจุดชมเมืองหลวงพระบางนั้น ที่ถือว่าเป็นเส้นทางท่องเที่ยวยอดนิยมก็คือ

เริ่มต้นจากบริเวณสี่แยกใจกลางเมือง แล้วไล่เที่ยวเรื่อยไปบนถนนกลางเมือง (ถ.สีสะหว่างวง)

ไปจนสุดถนนที่แม่น้ำคาน ซึ่งถนนสายนี้ถือเป็นถนนเส้นหลักของเมืองที่
2

ฟากฝั่งมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย โดยจุดแรกที่ไม่น่ามองข้ามก็คือ
วัดใหม่สุวันนะพูมาราม

วัดนี้แม้ชาวลาวจะเรียกสั้นๆ ว่า
“วัดใหม่”

แต่ว่าก็เป็นวัดอันเก่าแก่ที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2337 ในสมัยพระเจ้าอนุรุทธราช
       
       
ในวันปกติธรรมดา วัดใหม่ดูโดดเด่นด้วย “สิม” (โบสถ์หรือวิหาร)แบบลาว

ที่มีหลังคาซ้อนชั้นอันอ่อนช้อย ภายในสิมมี “พระเอ้”

หรือพระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นพระประธานที่ดูขรึมขลัง

ส่วนบานประตูของวัดใหม่ก็งดงามไปด้วยฝีมือการแกะสลักไม้ของ
“เพียตัน” (พระยาตัน) หนึ่งในสุดยอดช่างของลาว
       
       ครั้นพอถึงช่วงสงกรานต์ ที่วัดใหม่จะคับคั่งไปด้วยผู้คนที่มาสรงน้ำ
“พระบาง” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง

ซึ่งได้อัญเชิญมาจาก “หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง” ที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดใหม่ และเป็นหนึ่งในไฮไลต์อันน่ายลของหลวงพระบาง
       
       
หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบางหรือพระราชวังหลวงเดิม ในอดีตเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ของเมือง

ที่พอเดินเข้าไปทิวต้นตาล 2 ข้างทางเดินจะนำสายตาไปสู่อาคารพระราชวังที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมลาว

จนหลายๆ คนเปรียบเปรยพระราชวังหลังนี้ว่าเป็น “ฝรั่งสวมชฎา”

อาคารเก่าย่านบ้านเจ๊กที่ยังคงลักษณะภายนอกแบบดั้งเดิมไว้ไม่แปรเปลี่ยน

              ภายในหอพิพิธภัณฑ์ฯ มีการจัดแบ่งเป็นห้องต่างๆ ซึ่งเมื่อเข้าไปแล้วควรไปสักการะ “พระบาง” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่อยู่ในห้องทางขวามือเอาฤกษ์เอาชัย หลังจากนั้นใครใคร่ชมสิ่งใดก็เลือกชมกันตามสะดวก

ซึ่งในนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ กลองมโหระทึกสำริดจำนวนหลายใบในห้องฮับต้อน ฝาผนังประดับกระจกสีและบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองคำในท้องพระโรงใหญ่

หอธรรมาสน์ในห้องพิธีการ รวมถึงพระพุทธรูป ข้าวของเครื่องใช้และโบราณวัตถุอีกมากมาย
       
ตรงข้ามกับหอพิพิธภัณฑ์ฯ เป็น “พูสี” ที่บนยอดนอกจากจะเป็นจุดชมวิวชั้นยอดแล้ว ยังมี “พระธาตุจอมพูสี” สีทองอร่ามตาเรื่อเรืองรอง
       
ครั้นพอพ้นผ่านหอพิพิธภัณฑ์ฯ ไปก็จะเข้าสู่
“ย่านบ้านเจ๊ก” ที่ในอดีตคือย่านค้าขายและที่อยู่ของคนจีนและเวียดนามที่มาทำงานเป็นลูกมือฝรั่งเศส คนลาวจึงเรียกย่านนี้ว่า “บ้านเจ๊ก”
       
       มาในวันนี้ย่านบ้านเจ๊กแปรสภาพเป็นร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านกาแฟ ร้านอินเทอร์เน็ต ฯลฯ แต่ว่าลักษณะภายนอกของอาคารก็ยังคงไว้ด้วยสภาพตึกแถวสไตล์โคโลเนียลของฝรั่งเศส

ซึ่งน่าชมไปด้วยผนังปูนสีอ่อนมุงหลังคากระเบื้องดินเผาที่เข้ากันอย่างลงตัวกับเสา ประตู หน้าต่าง และบัวประดับผนัง นับเป็นเสน่ห์อันน่ายลอีกอย่างหนึ่งของหลวงพระบางที่ต้องตาโดนใจนักท่องเที่ยวหลายๆ คน



วัดแสน โดดเด่นไปด้วยสิมอันสวยงามและมีพระยืนหนึ่งเดียวในเมืองหลวงพระบาง

              ของดีอีกอย่างหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านบ้านเจ๊กก็คือ “เฮือนมรดกเชียงม่วน” เรือนคหบดีโบราณตามแบบฉบับลาวแท้ๆ ที่ว่ากันว่าเก่าแก่และคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดในหลวงพระบาง

แต่น่าเสียดายว่าเฮือนมรดกฯ ไม่ได้อยู่ติดถนน ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร
       
       ผมเดินผ่านถนนกลางเมืองมาได้ค่อนข้าง ช่วงท้ายๆ ของถนนสายนี้มีวัดให้ชมหลายวัด อาทิ วัดสบ วัดสีบุนเฮือง วัดสีมงคน วัดคีลี วัดปากคาน
       
       สำหรับวัดที่ดูโดดเด่นเป็นพิเศษในกลุ่มวัดแถวนี้ก็คือ
วัดแสนสุขาราม หรือวัดแสน เพราะวัดนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนหนึ่งเดียวในตัวเมืองหลวงพระบาง

ซึ่งคนหลวงพระบางเรียกว่า “พระเจ้า 18 สอก” (ภาษาลาว) เพราะสูง 18 ศอก ส่วนสิมของวัดแสนนั้นก็มีการประดับตกแต่งอย่างงดงามด้วยลวดลายหลากหลายรูปแบบ
       
       เลยวัดแสนขึ้นไปหน่อยมีทางเลี้ยวซ้ายไป
วัดเชียงทอง สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมล้านช้างที่สวยงามที่สุดในหลวงพระบาง

ใครที่มาเที่ยวหลวงพระบาง (ต้อง) ไม่ควรพลาดการชมวัดนี้ด้วยประการทั้งปวง...(ติดตามตามอ่านเรื่องราวของวัดเชียงทองได้ในตอนหน้า)


เฮือนมรดกเชียงม่วน เรือนคหบดีโบราณตามแบบฉบับลาวแท้ๆ

              หลวงพระบาง “คน” น่ารัก
       
       แม้ว่าหลวงพระบางจะมากไปด้วยวัด วัง และอาคารบ้านเรือนในรูปแบบดั้งเดิมที่มากมายไปด้วยเสน่ห์ชวนมอง แต่ว่าหากปราศจาก “คนหลวงพระบาง” แล้ว เสน่ห์ของเมืองนี้จะดูด้อยลงไปถนัดตา
       
       คนหลวงพระบางใช้ชีวิตอย่างสงบ เรียบง่าย ทำไร่นา ปลูกผัก หาปลา เลี้ยงสัตว์ ท่ามกลางความสุขตามอัตภาพของวิถีชีวิตพอเพียง ที่ไม่ต้องดิ้นรนแก่งแย่งแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายตามกระแสแห่งโลกทุนนิยม
       
       คนหลวงพระบางผูกพันมั่นคงและแนบแน่นในพุทธศาสนา โดยทุกๆ เช้าตรู่ในหลายๆ บ้านจะมีญาติโยมพากันออกมาตักบาตรข้าวเหนียวให้กับพระภิกษุสงฆ์ที่ออกบิณฑบาตเป็นแถวยาวเหยียดนับร้อยรูป

       ทำให้หลายๆ คนขนานนามหลวงพระบางว่าเป็น “ธรรมมิกสังคมนิยม” แห่งสุดท้าย เพราะ สปป.ลาวเป็นประเทศสังคมนิยม

หากเมืองหลวงพระบางไร้ซึ่งคนหลวงพระบางเสน่ห์ของเมืองนี้จะดูด้อยไปถนัดตา

              คนหลวงพระบางเก่งในการประยุกต์สองสิ่งต่างขั้วให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นแม่หญิงหลวงพระบางที่ดูงดงามมีสีสันไปด้วยเสื้อแขนกุด สายเดี่ยว และเสื้อยืดรัดรูปตามสมัยนิยม

       ผสมกับการนุ่งซิ่นตามแบบฉบับชาวลาว ดิสโก้เธคในหลวงพระบางที่นอกจากจะมีการแดนซ์กระจายคล้ายเมืองบางกอกแล้ว ยังมีการรำวงและการเต้นบาสล็อปแบบลาวสลับไปมาอย่างกลมกลืนและสนุกสนาน
       
       คนหลวงพระบางภาคภูมิใจในบ้านเมืองของตนเอง
       
       คนหลวงพระบางสนุกสนาน ร่าเริง เปิดเผย และรุ่มรวยไปด้วยน้ำใจ ที่หากใครได้คบหาและพูดคุย ก็จะได้พบกับน้ำมิตรไมตรีที่จริงใจไร้การเสกสรรปั้นแต่ง
       
       คนหลวงพระบาง ฯลฯ ซึ่ง
สำหรับผมแล้วคนหลวงพระบางถือเป็นเสน่ห์อันสูงสุดของเมืองหลวงพระบาง เมืองเล็กๆ ที่ผู้คนมีจิตใจงดงามเหลือหลาย...
      

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของสปป.ลาว อดีตเคยเป็นนครหลวงของอาณาจักรลานช้าง ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2538

       ใช้เงินกีบเป็นหลักในการซื้อขายโดย 1 บาท ประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทได้         คนไทยสามารถเข้าหลวงพระบางได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า