ประวัติศาสตร์ของชาวเวียดนาม
เวียดนาม เรามารู้จักเวียดนามกันสักหน่อย
ถ้าดูตามแผนที่ เราจะเห็นว่าเวียดนามมีรูปร่างคล้ายตัวเอส “S” ขนาดใหญ่ยาวเหยียด
กินเนื้อที่ไปตามความยาวของคาบสมุทรอินโดจีน จำนวนประชากรในปีพ.ศ. 2545 มีประมาณ 80 กว่าล้านคน
นับเป็นอันดับที่ 14 ของโลก พลเมืองประกอบด้วยหลายชนชาติถึง 54 ชนชาติ
ส่วนใหญ่เป็นชนชาติกิงห์ (Kinh) นอกนั้นก็เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายต่างๆ
ภาษาที่ใช้คือ ภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็นการผสมผสานจากภาษาจีน ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย
โดยมีตัวอักษรที่เรียกว่า กว๊อก หงือ (Gnoe ngn)เป็นภาษาเขียนประจำชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2462
ซึ่งคิดโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสชื่อ Alexandre de Rhader
ดังนั้น แม้เราจะเห็นตัวอักษรของเวียดนามคล้ายๆ A B C D แต่บางตัวก็จะมีหมวก หรือมีขีดซ้ายบ้าง
ขีดขวาบ้างอยู่บนหัว ทำให้อ่านแบบภาษาอังกฤษทั่วไปไม่ได้ ต้องอ่านตามหลักของเขาเอง
เช่น CHO’ อ่านว่า จ๋อ แปลว่า หมา เป็นต้น ส่วน เงิน ของที่นี่จะเรียกว่า “ด่อง”
แต่เวลาฟังคนเวียดนามพูดจะออกเสียงเป็น “โด่ง” มากกว่า “ด่อง” ที่คุ้นหูคนไทย
อัตราแลกเปลี่ยนตอนเราไปคือ ๑ บาทประมาณ 500 ด่อง เรียกว่าแลกทีเป็นเศรษฐีเงินล้านเลยทีเดียว
และที่สะดวกคือ เมืองท่องเที่ยวที่เราไปรับเงินไทยด้วย คนที่นี่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
กระแสไฟฟ้าก็เป็นระบบเดียวกับเราคือ 220 โวลต์ 50 วัตต์
(ถ้าไปตามโรงแรมใหญ่ๆ คุณสาวๆไม่ต้องเอาไดร์เป่าผมไป เพราะเขามีให้อยู่แล้ว)
คำว่า “เวียดนาม” นี้ เล่ากันว่าปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในสมัยพระเจ้ายาลอง กษัตริย์เวียดนาม ในต้นศตวรรษที่19
โดยพระองค์ส่งราชทูตไปทูลขอพระบรมราชานุญาตจากฮ่องเต้จีน เพราะขณะนั้นจีนยังมีอำนาจเหนือเวียดนามอยู่
โดยแต่เดิมจะตั้งชื่อว่า “นามเวียด” โดยนำชื่อดังกล่าวมาจากการรวมดินแดน เก่าชื่อ อันนาม
และดินแดนใหม่ชื่อ เวียดเทือง เข้าด้วยกัน แต่เมื่อฮ่องเต้จีนทรงปรึกษาหารือกับเหล่าขุนนาง
ก็ทรงตัดสินว่า ชื่อ นามเวียด อาจจะทำให้นึกถึงอาณาจักรเก่าแก่ที่ชื่อ นามเวียดดอง
ซึ่งรวมเอาดินแดนของจีนเข้าไปด้วยถึงสองมณฑล ดังนั้น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด
และกันการแอบแฝงความปรารถนาในดินแดนดังกล่าว เลยให้เปลี่ยนเป็น “เวียดนาม”
ซึ่ง เวียด หมายถึง คน และ นาม แปลว่า ใต้
ซึ่งนัยก็คงหมายถึงคนที่อพยพจากดินแดนทางเหนือ (จีน) มาตั้งถิ่นฐานทางใต้ก็เป็นได้
หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง
และถูกแบ่งแยกดินแดนเป็นเวียดนามเหนือและใต้บ้าง
ปัจจุบันเวียดนามได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2519
และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าประเทศ “สาธารณรัฐสังคมนิยม
ความเป็นมา ในการได้รับอิสรภาพ ของเวียดนาม
พ.ศ.353 อาณาจักรนามเวียด (Nam Viet) ตั้งตัวเป็นอิสระ
แต่ต่อมาได้ถูกจีนยึดครอง เมื่อ พ.ศ.1482 และจาก พ.ศ.1582 –2355
ตลอด 900 ปี เป็นช่วงของการต่อต้านอิทธิพลจีน และการ ต่อสู้เพื่ออิสระภาพของชาวเวียด
ในช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าว เวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งทางด้านการศึกษา
การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และความเชื่อ และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15
ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ลี้ เวียดนามเริ่มแผ่อิทธิพลไปสู่อาณาจักรใกล้เคียง
อาทิ อาณาจักรจามปา อาณาจักรขอม
พ.ศ.2345 เวียดนามได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นด้วยความสามารถของแม่ทัพชื่อเหวียน อาน
ซึ่งต่อมาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิญาลอง
พ.ศ.2426 –2488 เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อ 25 ส.ค. 2426
ต่อมากลุ่มต่าง ๆ พากันรวมตัวต่อต้านฝรั่งเศส มีองค์กรชื่อพรรคชาตินิยมเวียดนาม เป็นขบวนการใต้ดิน
ซึ่งมีการจัดองค์กรแบบพรรคชาตินิยมจีนก๊กมินตั๋ง มี วัตถุประสงค์ในการต่อสู้เพื่อเอกราชและสร้างสาธารณรัฐ
แต่ท้ายที่สุดถูกฝรั่งเศสปราบปรามจนแตกสลายเมื่อปี พ.ศ.2473
ขบวนการสำคัญที่ต่อต้านฝรั่งเศสซึ่งต่อมาได้ยึดแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์
ประสานกับความรู้สึกชาตินิยมและแนวทางมาร์กซิส-เลนินนิสต์ มีอยู่ 3 พรรค ได้แก่
1) พรรคคอมมิวนิสต์ชาวอินโดจีน ซึ่งเคลื่อนไหวในภาคกลางและภาคเหนือ
2) พรรคคอมมิวนิสต์ชาวอันนัมซึ่งเคลื่อนไหวในภาคใต้
3) สหพันธ์ชาวคอมมิวนิสต์อินโดจีนของสมาชิกก้าวหน้า
แต่ต่อมา องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้แนะนำให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ทั้งสาม
รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้การต่อสู้มี ประสิทธิภาพ
เมื่อ 3 ก.พ.2473 มีการประชุมร่วมกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสาม
โดยมีโฮจิมินห์เป็นประธาน แล้วตั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามขึ้น
ได้มีการประชุมที่ฮ่องกงใน ต.ค.ปีเดียวกัน พรรคได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ อินโดจีน
เมื่อ พ.ค.2483 ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นยกกำลังทหารเข้ามารุกรานอินโดจีน
โดยได้รับความร่วมมือจากฝรั่งเศส ญี่ปุ่นจึงปล่อยให้ฝรั่งเศสมีบทบาทใน อินโดจีนต่อไป
เมื่อ พ.ค.2484 ในการประชุมครั้งที่ 8 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน
ประกาศจัดตั้งสันนิบาตเพื่อเอกราช ของเวียดนาม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของเวียดมินห์ (Viet Minh)
และต่อสู้กับฝรั่งเศสและญี่ปุ่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง
โดยญี่ปุ่นแพ้สงคราม ตามสนธิสัญญาปอตสดัม เมื่อ ก.ค.2485
กองกำลังของจีนคณะชาติหรือก๊กมินตั๋งจะเข้ามาทางเวียดนามเหนือ
และกองกำลังของอังกฤษจะเข้ามาทางเวียดนามใต้
โดยแบ่งเขตที่เส้นขนานที่ 16 เพื่อปลดอาวุธญี่ปุ่น
โฮจิมินห์จึงถือโอกาสประกาศเอกราชเมื่อ 2 ก.ย.2488 และตั้งชื่อประเทศว่า
พ.ศ.2489 –2497 เมื่อจีนคณะชาติและอังกฤษถอนตัวออกจากเวียดนาม
ฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ
ฝ่าย โฮจิมินห์และฝรั่งเศสไม่สามารถตกลงกันได้จนกลายเป็นความขัดแย้ง
และบานปลายเป ็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ เมื่อ ธ.ค.2489
การรบยืดเยื้อจนกระทั่งฝ่ายฝรั่งเศสพ่ายแพ้ที่เดียนเบียนฟู เมื่อ 7 พ.ค.2497
ต่อจากนั้นได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเจนีวา เมื่อ ส.ค.2497
แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ
จากการที่จีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
และทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตและเกาหลีเหนือ
ทำให้สหรัฐฯ ต้องกำหนดยุทธศาสตร์สกัดกั้นคอมมิวนิสต์ขึ้นในเขตเอเชีย เมื่อ ก.พ.2493
สหรัฐฯ รับรองรัฐบาลของจักรพรรดิเบ๋าได่ ซึ่งฝรั่งเศสสนับสนุนจัดตั้งขึ้นแข่งกับรัฐบาลของโฮจิมินห์
พ.ศ.2507 –2518 เมื่อ ส.ค.2517 เกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย
ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามเหนือ
โดยสหรัฐฯ กล่าวหาว่าเวียดนามเหนือโจมตีเรือรบของตน
และรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ออกข้อมติเรื่องอ่าวตังเกี๋ย (Tonkin Resolution)
โดย ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการใช้มาตรการต่อ เวียดนามเหนือได้ตามความเหมาะสม
ดังนั้น ข้อมติดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นพื้นฐานให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำเนินการใช้กำลังจนกลายเป็นสงครามเวียดนาม
เมื่อ 31 ต.ค.2511 ประธานาธิบดีจอห์นสัน ตัดสินใจให้หยุดยิงในเวียดนาม
และต่อมา เมื่อ 8 มิ.ย.2513 ประธานาธิบดีนิกสัน ประกาศถอนทหารสหรัฐฯ ออกจาก เวียดนาม
แต่ยังให้การสนับสนุนด้านอาวุธและการเงินแก่ รัฐบาลเวียดนามใต้
เมื่อ 30 เม.ย.2518 กรุงไซ่ง่อนถูกกองทัพเวียดนามเหนือยึดครองได้ในที่สุด
ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐฯ ได้ส่งทหารไปร่วมรบถึง 3,300,000 นาย
เสียชีวิต 57,605 นาย ได้รับบาดเจ็บ 303,700 นาย มีการทิ้งระเบิดทั้งสิ้น 7 ล้านตัน
ซึ่งสหรัฐฯ ต้องใช้งบประมาณถึงปีละ 14 พันล้านเหรียญ อม.
ในขณะที่ชาวเวียดนามเสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้จำนวนกว่า 2 ล้านคน
เมื่อ ก.ค.๒๕๑๙ เวียดนามเหนือและใต้รวมเป็นประเทศเดียว
โดยใช้ชื่อว่า “สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม”
บ้านของบิดาแห่งชาติเวียดนามที่อุดรธานี เป็นเพียงกระต๊อบหลังคามุงหญ้า ความยาวเพียง 8 เมตร
ที่นี่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งเป็นที่ศึกษาอบรมทฤษฎี กระทั่งฝึกอาวุธ
บ้านอีกหลังหนึ่งที่บ้านเกิดของประธานโฮจิมินห์ ที่ จ.เหงะอาน (Nghe An) ก็สภาพไม่ต่างกัน
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าอดีตประธานโฮจิมินห์ ผู้นำการกู้ชาติเวียดนาม
ได้เคยหลบหนีการปราบปรามเข้ามาดำเนินงานการเมืองต่อต้านฝรั่งเศสในประเทศไทย
"ลุงโฮ" เดินทางไปหลายที่ โดยขอความร่วมมือและสนับสนุนจากชาวเวียดนามในประเทศไทย
ซึ่งมีจำนวนมาก รวมทั้ง จ.อุดรธานี ด้วย นั่นคือปี 2471 หรือเกือบ 80 ปีมาแล้ว
ชาวอุดรธานีทั้งชาวไทยและไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้รวมใจกันจัดสร้างอนุสรณ์สถานของลุงโฮขึ้น
และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมแล้วในปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่การก่อสร้างอีกบางส่วนยังจะดำเนินต่อไป
ลุงโฮ เดินทาเข้าไทยไทยโดยไปอยู่ที่ จ.พิจิตร เป็นแห่งแรกโดยใช้ชื่อว่า "เฒ่าจิ๋น"
จากนั้นเดินทางไปอุดรธานี พร้อมผู้ติดตามไปอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวเวียดนามใกล้สถานีรถไฟอุดรธานี
ต่อมาได้ย้ายไปที่บ้านหนองโอน (ปัจจุบันบ้านหนองฮาง) ต.เชียงพิณ อ.เมือง
โดยอาศัยอยู่กับครอบครัว "องแว็ด" (ชาวเวียดนาม) ลุงโฮได้ปลูกบ้านหลังเล็กๆ อยู่หลังบ้านลุงแว็ด
“บ้าน” ของบิดาแห่งชาติของชาวเวียดนามนั้น กว้างเพียง 5 เมตร และ ยาว 8 เมตร
หลังคามุงหญ้า ฝาทำด้วยโครงไม้ซึ่งใช้โคลนผสมฟางพอก
บ้านหลังนี้ทั้งเป็นบ้านพัก ที่สอนหนังสือ ที่ประชุม ที่ฝึกกองกำลังติดอาวุธ
ปัจจุบันคือ ด้านหน้าโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล 2
ปี พ.ศ. 2545 จ.อุดรธานี พร้อมกับชาวเวียดนามโพ้นทะเลซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น
ได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งศึกษา และท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ขึ้นมาที่บ้านหนองโอน
แล่งท่าลุงโฮเคยไปอาศัยเมื่อ 78 ปีที่แล้ว เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย กับเวียดนาม และ เพิ่มพูนรายได้อันเกิดจากการท่องเที่ยวให้กับชาวท้องถิ่น
โครงการได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน คือ การก่อสร้างบ้านพักลุงโฮจำลอง
ให้มีสภาพเหมือนสมัยที่อดีตผู้นำเคยอาศัยอยู่เมื่อ 8 ทศวรรษก่อนโน้น
สร้างหอประชุมเอนกประสงค์เพื่อใช้ต้อนรับผู้เข้าชมและเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการประวัติลุงโฮ
ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทย
และ การปรับปรุงภูมิทัศน์ในโครงการให้มีความร่มรื่น และสวยงาม
ขณะนี้การก่อสร้างบ้านพักลุงโฮ กับการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ได้เสร็จไปแล้ว
และได้ทำพิธีเปิดใช้ในวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดลุงโฮเมื่อปี 2433
ส่วนหอประชุมเอนกประสงค์นั้นคณะกรรมการจะได้จัดหาทุนดำเนินการต่อไป
ทางการ จ.อุดรธานี หวังว่าอนุสรณ์สถานของอดีตประธานโฮจิมินห์ที่นั่น
จะเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อันเป็นสิ่งเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างชาวอุดรธานี
และชาวเวียดนาให้เกิดมิตรภาพที่แน่นแฟ้นตลอดไป
ในโอกาสเดียวกันนี้ ศูนย์กลางการศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันราชภัฏอุดรธานี
ได้จัดทำภาพยนตร์สารคดีสั้น "ตามรอยโฮจิมินห์" ออกเผยแพร่
เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในช่วงนี้
หรือสำหรับใครๆ ก็ตามที่อาจจะลืมไปแล้ว.. คลิ๊กชมภาพจากวิดีโฮคลิปได้เลย
ตลอดเวลา 55 ปี ที่ผ่านมาลาวใต้การนำของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
มีชัยชนะเหนือ 2 ประเทศมหาอำนาจ มีการล้มเลิกระบอบศักดินา
และก่อตั้งระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนขึ้นมา จากการเป็นทาสจักรวรรดินิยม
และเจ้าขุนมูลนาย ประชาชนลาวได้เป็นนายของประเทศและสังคม
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ระบบทุนนิยมได้แผ่ขยาย
และกลายเป็นจักรวรรดินิยม ลักษณะอย่างหนึ่งของพวกจักรวรรดินิยม
คือการแสวงหาอาณานิคม จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสเริ่มแผนรุกรานและกวาดประเทศต่างๆ ในย่านนี้เข้าอยู่ใต้อาณัติ
ปี 2402 ฝรั่งเศสเริ่มรุกรานเวียดนามทางตอนใต้
และ ต่อมาในปี 2430 ก็รวบเวียดนามทั้งประเทศเข้าอยู่ใต้อาณานิคมอย่างสมบูรณ์
ขณะที่กัมพูชาอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2427 และ สุดท้ายในปี 2436 ก็ได้ผนวกลาวเข้ามาด้วย
เพื่อให้สะดวกในการบริหารงาน ฝรั่งเศสได้รวบ 3 ประเทศน
ี้และรวมเรียกว่า สหพันธ์อินโดจีนฝรั่งเศส (French Indochinese Federation)
มีผู้ว่าการของฝรั่งเศสปกครองโดยตรง ปี 2454 ประธานโฮจิมินห์ออกจากอินโดจีน ในปี 2468
เดินจากสหภาพโซเวียตกลับเวียดนามเพื่อจัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน
ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. 2473 เหวียนอายเกวื๊อก (Nguyen Ai Quoc) อีกนามหนึ่งของประธานโฮจิมินห์
ในฐานะตัวแทนคอมมิวนิสต์สากล ได้เป็นประธานการประชุมใหญ่
เพื่อรวมองค์กรคอมมิวนิสต์ต่างๆ ในเมืองเกาลูน ใกล้กับฮ่องกง และจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามขึ้น
จากนั้นชื่อได้เปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน
ในการประชุมครั้งแรกที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 14-31 ต.ค. 2473 เพื่อเป็นการแสดงถึงความเชื่อมโยง
อย่างใกล้ชิดของกลุ่มปฏิวัติเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
ประธานโฮจิมินห์ได้ใช้โอกาสของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน แสดงความเห็นว่า
ประชาชนได้ตระหนักแล้วว่า การปฏิวัติเป็นหนทางเดียวที่จะรอดพ้นจากการกดขี่
และการตักตวงประโยชน์อย่างไร้ความปราณีของจักรวรรดิ์นิยมฝรั่งเศส
นี่เองที่ทำให้การเคลื่อนไหวด้านการปฏิวัติเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ท่านโฮจิมินห์ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิวัติเวียดนามไม่ได้โดดเดี่ยว
แต่ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากชนชั้นกรรมาชีพโลก
นอกเหนือจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง 3 ประเทศคอมมิวนิสต์อินโดจีน
ซึ่งก่อนหน้านี้ต่างคนต่างทำงานก่อนที่จะรวมเป็นพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน
พรรคได้ใช้คำขวัญต่างๆ เพื่อโค่นล้มจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ระบบศักดินาเวียดนาม
และชนชั้นกลางฝ่ายขวา เพื่อพยายามทำให้อินโดจีนเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์
การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนครั้งแรก เมื่อเดือน มี.ค. 2478 ที่มาเก๊า
ได้จัดตั้งคณะทำงานหลัก 3 คณะ เพื่อรวบรวมและพัฒนาองค์กรของพรรค
ระดมและพัฒนาประชาชนในฐานะกองกำลัง ตลอดจนนำขบวนการปฏิวัติต่อต้านจักรวรรดินิยม
ที่ประชุมได้แต่งตั้งประธานโฮจิมินห์เป็นผู้แทนประสานงานพรรคกับคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ
ในกลางปี 2471 “ลุงโฮ” เดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
เพื่อช่วยจัดตั้งและแนะแนวทางการเคลื่อนไหว มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมใน จ.อุดรธานี
และได้มอบหมายหน้าที่ให้กับผู้ปฏิบัติงานในเมืองท่าแขกและสะหวันนะเขต
จากนั้นได้เรียกตัวผู้ปฏิบัติงานในเวียงจันทน์ ให้เข้ามาร่วมประชุมที่วัดแห่งหนึ่ง ใน จ.หนองคาย
เพื่อสืบทราบสถานการณ์ในลาว โดยเฉพาะในเวียงจันทน์
ประธานโฮจิมินห์กล่าวว่า “การปฏิวัติคืองานที่จะต้องกระทำโดยมวลชน
มีผู้ใช้แรงงานและชาวบ้านเป็นรากและฐานของการปฏิวัติ
แต่การปฏิวัติต้องการการนำที่เข้มแข็งและเด็ดขาดของพรรค
เพียงเงื่อนไขนี้อย่างเดียวเท่านั้นจึงจะนำการปฏิวัติให้สำเร็จได้”
ประธานโฮจิมินห์ยังได้ย้ำว่า “พลเรือนของอินโดจีนจำต้องมีส่วนร่วมในการปฏิวัต
ิเพื่อขับไล่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม”
ในกลางปี 2471 “ลุงโฮ” ได้ปลอมตัวเป็นช่างไม้ เดินทางจากไทยผ่านเมืองปากเซเข้าไปยังลาว
ท่านเดินเท้าเข้าสะหวันนะเขตและเชียงหว่าง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อรับทราบข้อมูลโดยตรง
เมล็ดพันธุ์ของการปฏิวัติที่ลุงโฮและนักปฏิวัติคนอื่นๆ หว่านไปยังผู้ใช้แรงงาน
ได้แตกดอกออกผลอย่างรวดเร็วไปยังกลุ่มผู้รักชาติ ซึ่งกลายเป็นคลื่นปฏิวัติที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก
มีการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่เกาะดอนชิงชู้ (Don Sing Sou island)
ตรงข้ามกับบ้านสีไค ในเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 6-7 ก.ย. 2477
ภายใต้การนำของเลอแม่งจิ๋ง (Le Manh Trinh) ผู้แทนคนหนึ่งของคณะกรรมการผู้นำโพ้นทะเล (Overseas Leadership Committee)
เพื่อแนะนำแนวทางให้กับพรรค ที่ประชุมได้หารือกับถึงโครงการดำเนินงานของพรรค
และรับมติในประเด็นเร่งด่วนโดยทันที เพื่อปรับปรุงและขยายองค์กรพรรค
และองค์กรมวลชน ตลอดจนสนับสนุนการต่อสู้อย่างกขว้างขวาง
ที่ประชุมได้เลือกคณะกรรมการบริหารในคณะกรรมการประจำดินแดนลาวของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน
หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้สลายตัวลง เมื่อเดือน ก.พ. 2494
คณะกรรมการชุดนี้ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพรรคประชาชนลาว
ซึ่งต่อมาก็ได้กลายมาเป็นพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จนถึงปัจจุบัน.
เวียดนาม เป็นประเทศหนึ่งในเอเซียอาคเนย์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับจีน
และได้รับอิทธิพลจากจีนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะจีนเคยครอบครองเวียดนามเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานาน มากกว่าหนึ่งพันปี
จนกระทั่งถึงช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลแทนจีน (ระหว่าง พ.ศ. 2405-2497)
ประมาณปี พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสปราชัยแก่กองทัพเยอรมันนาซีในยุโรป ญี่ปุ่น
ถือโอกาสเคลื่อนกำลังเข้าครอบครองแหลมอินโดจีนไว้ทั้งหมด ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตร เวียดนามได้ประกาศที่จะต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่าง เปิดเผย
เพื่อให้เวียดนามหลุดพ้นจากสภาพการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และมี เอกราชเป็นของตนเอง
ได้มีการสู้รบกันอย่างหนักเป็นเวลาถึง 8 ปี จนกระทั่งกองกำลัง เวียดมินห์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
สามารถโจมตีป้อมปราการสำคัญของฝรั่งเศส ที่เดียนเบียนฟูแตกลง
ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสยอมรับความปราชัย
และต้องการสงบศึก จึงได้มีการลงนามในอนุสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2497 (Convention of Geneva, 1954)
ที่นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2497
ซึ่งมีผลทำให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้
โดยยึดเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต เวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองภายใต้การนำของโฮจิมินห์
พยายามที่จะรวม เวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน จึงส่งกำลังแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยแฝงเข้าไปในลักษณะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ จากนั้นได้ปฏิบัติการ รุกราน
ด้วยอาวุธและกำลังทหารอย่างรุนแรง ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อโจมตีรัฐบาล เวียดนามใต้
ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ประกอบกับการดำเนินนโยบายด้านการบริหารประเทศ ของรัฐบาลเวียดนามใต้ประสบความล้มเหลว
จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือทางทหารและ เศรษฐกิจจากมิตรประเทศฝ่ายโลกเสรี
ภายหลังจากที่รัฐบาลไทย ได้รับหนังสือขอความช่วยเหลือ ด้านเศรษฐกิจและการทหาร จากสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้)
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการให้ความช่วยเหลือแก่สาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
ในระยะแรก ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือเฉพาะด้านการฝึกนักบินไอพ่นแก่สาธารณรัฐเวียดนาม
โดยมอบให้กองทัพอากาศจัดกำลังพลชุดแรกส่งไป เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2507
ต่อมาจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่นักบินและช่างไปช่วยเหลือ ปฏิบัติการในลักษณะหน่วยบินลำเลียง
กำลังส่วนนี้ใช้ชื่อว่าหน่วยบินลำเลียง ทหารอากาศไทยในสาธารณรัฐเวียดนามหรือหน่วยบินวิคตอรี่ (VICTORY)
พ.ศ. 2508 สาธารณรัฐเวียดนามตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมที่สุด
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงตกลงใจส่งกำลังทหารเข้าปฏิบัติการ พร้อมกับกำลังพันธมิตรอีก 7 ประเทศ
คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทย
สงครามเวียดนาม จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2509 รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม ได้ขอรับความ ช่วยเหลือทางทหารจากรัฐบาลไทยเพิ่มเติม
ซึ่งรัฐบาลไทยในขณะนั้นพิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องส่งทหารร่วมรบกับฝ่ายโลกเสรี
ในระยะนี้กองทัพเรือได้เริ่มส่ง กำลังทางเรือไปช่วยเหลือในการปฏิบัติการลำเลียง
และเฝ้าตรวจตามชายฝั่งเพื่อป้องกัน การแทรกซึมทางทะเลให้แก่สาธารณรัฐเวียดนาม
ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2509 กำลังทางเรือนี้มีชื่อว่า หน่วยเรือซีฮอร์ส (SEA HORSE)
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 258 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม
โดยให้กองทัพบกจัดส่ง หน่วยกำลังรบทางพื้นดินไปปฏิบัติการที่สาธารณรัฐเวียดนาม
จึงได้มีการจัดตั้งหน่วย เฉพาะกิจขึ้น เรียกว่า กรมทหารอาสาสมัคร (กรม อสส.)
ประกอบด้วย กองบังคับการ และกองร้อยกองบังคับการ กองร้อยบริการ กองร้อยเสนารักษ์
กองร้อยปืนเล็ก 4 กอง ร้อย กองร้อยลาดตระเวณ กองร้อยปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง และกองร้อยช่างสนาม
กำลังพลรวมทั้งสิ้น 2,207 นาย นับเป็นกองกำลังทหารไทยหน่วยแรกที่ไปปฏิบัติ การรบในเวียดนาม
ได้รับสมญาว่า จงอางศึก (QUEEN'S COBRA)
กรมทหารอาสาสมัครได้เดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม
ตามที่ได้ รับมอบในเขตอำเภอโนนทรัค และอำเภอลองถั่น จังหวัดเบียนหว่า
ซึ่งกรมทหารอาสา- สมัครให้ชื่อพื้นที่ปฏิบัติการนี้ว่า พื้นที่ดอนเจดีย์
ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2510 จนถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511
และได้กำหนดแผนยุทธการนเรศวร เป็นหลักในการปฏิบัติ สำหรับการรบครั้งสำคัญของกรมทหารอาสาสมัคร
คือ การรบที่ฟุกโถ ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม พ.ศ.2510
คืนวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เวลาประมาณ 22.00 น. ขณะที่กำลังพลของ กองร้อยอาวุธเบาที่ ๑
กรมทหารอาสาสมัครในบังคับบัญชาของ พ.ต.ยุทธนา แย้มพันธุ์ จำนวน 3 หมวด (ประมาณ 90 นาย)
กำลังตั้งฐานปฏิบัติการควบคุมเส้นทางถนนสาย สมเกียรติ (สาย 319)
ซึ่งเป็นถนนยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายเวียดกงใช้เป็น เส้นทางการส่งกำลังบำรุง
และเข้าไปมีอิทธิพลในหมู่บ้านฟุกโถอยู่นั้น ปรากฎว่าฝ่าย เวียดกงได้ส่งกำลังจำนวน 1 กองพัน
คือ กองพันผสมที่ 3 กรมที่ 275 ร่วมรบกับกอง กำลังประจำถิ่น
และกองโจรอีกจำนวนหนึ่ง บุกเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของไทย
เวียดกงเริ่มการโจมตีโดยใช้เครื่องยิงลูกระเบิดยิงปืนใหญ่
ซึ่งอยู่ห่างจากฐานของ กองร้อยอาวุธเบาที่ 1 ไปทางตะวันตกประมาณ 3.5 กม.
เพื่อตรึงมิให้ปืนใหญ่ฝ่ายไทย ยิงสนับสนุนกองร้อยอาวุธเบาที่ 1
และได้ระดมยิงฐานที่ตั้งของกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 อย่างรุนแรง
หลังจากนั้น ข้าศึกได้ส่งทหารราบ บุกเข้าโจมตีรอบฐานของกองร้อยอาวุธ เบาที่ 1 รวม 3 ทิศทาง
คือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศ ตะวันตก
ฝ่ายไทยได้ใช้อาวุธทุกชนิดที่มีเข้าสนับสนุน เพื่อผลักดันการเข้าตีของข้าศึก
แต่ เนื่องจากข้าศึกมีจำนวนมากว่า จึงสามารถฝ่าแนวลวดหนามเข้ามาได้
มีการต่อสู้ถึงขั้น ตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืนทหารไทยตอบโต้อย่างรุนแรงตลอดเวลาโดยไม่ยอมผละ จากที่มั่น
ระหว่างนั้นปืนใหญ่และเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธของฝ่ายพันธมิตรได้พยายามยิง สนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
การรบได้ดำเนินมาจนถึงเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2510
ข้าศึกเห็นว่าไม่สามารถยึดที่มั่นของไทยได้ จึงเริ่มถอนกำลังกลับ
การรบได้ยุติลงเมื่อประมาณ 15.30 น. ของวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2510
ผลการรบ กองกำลังทหารไทยได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด สามารถสังหารทหาร เวียดกงได้ 185 ศพ
บาดเจ็บ 80 คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน พร้อมกับยึดอาวุธยุทโธ- ปกรณ์ได้จำนวนมาก
ส่วนทหารไทยเสียชีวิต จำนวน 8 นาย บาดเจ็บสาหัส 23 นาย และบาดเจ็บเล็กน้อย 48 นาย
การปฏิบัติการครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถและ ความกล้าหาญของกองกำลังทหารไทยต่อสายตาชาวโลก
อันนำมาซึ่งเกียรติประวัติและ ชื่อเสียงของทหารไทยให้ปรากฎต่อนานาประเทศ
หลังจากที่กรมทหารอาสาสมัครเดินทางไปปฏิบัติการในสาธารณรัฐเวียดนามแล้ว
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510 กองทัพบกได้มอบให้ คณะกรรมการพิจารณาความ พร้อมรบของทหาร
และจัดส่งหน่วยทหารไปเวียดนามใต้เพิ่มเติม (คณะกรรมการ พวต.)
พิจารณาเตรียมการส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยนกรมทหารอาสาสมัคร โดยให้เพิ่มเติมกำลัง เป็น 1 กองพล
ต่อมาจึงได้มีคำสั่งตั้ง กองพลทหารอาสาสมัคร (พล.อสส.) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2511
กำลังพลทั้งสิ้น 11,272 นาย บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นตรง กองทัพบก
แต่ฝากการบังคับบัญชาไว้กับกรมยุทธศึกษาทหารบก มีที่ตั้งปกติ ณ ค่าย กาญจนบุรี (ค่ายสุรสีห์ในปัจจุบัน)
ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
กองทัพบกได้เรียกผู้อาสาสมัครเข้าบรรจุกำลังและรับการฝึกเพิ่มเติมโดยมีนโยบาย จัดกำลังเป็นผลัด
แต่ละผลัดแบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ๆ ละประมาณครึ่งกองพล แต่ละ ส่วนจะมีระยะห่างกันประมาณ 6 เดือน
กองพลทหารอาสาสมัครนี้ เมื่อเดินทางไปปฏิบัติการในสาธารณรัฐเวียดนาม
จะ อยู่ในความควบคุมทางยุทธการของกองทัพสนามที่ 2 สหรัฐอเมริกา
และมีสมญาเป็นที่ รู้จักกันในนามกองพลเสือดำ (PANTHERS)
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 นี้ ได้มีการรบครั้งสำคัญ ๆ ได้แก่ การรบที่ บินห์สัน
การรบที่เฟือกกาง การรบที่ล็อกแอน ยุทธการอัศวิน ยุทธการวูล์ฟแพค และ ยุทธการเบ็นแคม เป็นต้น
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 2 ได้ปฏิบัติการครั้งสำคัญ ๆ หลายครั้ง
ได้แก่ การรบในยุทธการมิตรภาพ ยุทธการฟูหอย ยุทธการไทยเทียน ยุทธการบางปู
การรบ ตามแผนยุทธการ 234 ยุทธการซุยคา ยุทธการคีย์แมน และยุทธการสายฟ้าแลบ
การรบครั้งสำคัญของกองทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ได้แก่ การปฏิบัติตามแผน ยุทธการ Yellow Jacket
และแผนยุทธการ Task Force THAIAM ในระยะแรกที่ประเทศไทยส่งหน่วยบินวิคตอรี่
และหน่วยเรือซีฮอว์ส ช่วยเหลือ เวียดนามใต้นั้น
ได้มีการจัดตั้งกองบังคับการหน่วยช่วยเหลือทางทหารของประเทศไทย
ประจำสาธารณรัฐเวียดนาม (บก.ชท.วน.) ขึ้นที่กรุงไซ่ง่อน
รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ตรงต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด
และให้กองทัพอากาศ และกองทัพเรือผลัดเปลี่ยนกันจัด ผู้บังคับหน่วย (ยศ น.อ.)
และรองผู้บังคับหน่วย (ยศ น.ท.) สลับกันทุกปี
เริ่มต้นด้วยกองทัพอากาศมีหน้าที่บังคับบัญชาทหารไทย
และประสานกับผู้บังคับหน่วยทหารพันธมิตรในเวียดนามร่วมกับผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดของกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม
และผู้บัญชาการหน่วยช่วยเหลือทางทหาร สหรัฐอเมริกา
ประจำสาธารณรัฐเวียดนามใน Free World Military Assistance Organization (FWMAO)
เพื่อพิจารณากำหนดแนวความคิดโดยทั่วไปในการใช้กำลัง ทหารไทยในการปฏิบัติการในสาธารณรัฐเวียดนาม
ครั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงกลาโหม จัดกำลังรบทางพื้นดินไปช่วยเหลือ รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม
รัฐมนตรีกลาโหมจึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม (บก.กกล.ไทย/วน.)
ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 มีลักษณะเป็นสำนักงานนายทหารติดต่อ กำลังพลทั้งสิ้น 35 นาย
ต่อมา เมื่อมีการเพิ่มกำลังเป็นขนาดกองพลแล้ว จึงได้จัดให้กองบัญชาการกอง กำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
มีลักษณะเป็นกองบัญชาการรวม ขึ้นตรงต่อ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เพื่อรับผิดชอบในการควบคุมบังคับบัญชากำลังทหารที่ปฏิบัติ งานอยู่ในสาธารณรัฐเวียดนาม
และติดต่อประสานงานกับกองทัพสาธารณรัฐเวียดนามและกำลังทหารของชาติพันธมิตรอื่น ๆ
ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม
ให้กองกำลังทหารไทยเริ่มถอนกำลังออกจากเวียดนามใต้ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา
และในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 หน่วยกำลังรบของไทยได้ เสร็จสิ้นการถอนกำลังออกจากเวียดนามใต้
คงมีแต่สำนักงานผู้แทนทางทหารไทยใน สาธารณรัฐเวียดนามที่ยังปฏบัติหน้าที่ในการติดต่อประสานงาน
กับกองกำลังฝ่ายโลกเสรี ที่ยังคงอยู่ในสาธารณรัฐเวียดนามอีกระยะหนึ่ง
จากนั้นได้เคลื่อนย้ายกลับประเทศไทย โดยส่งมอบงานให้สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร
ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง ไซ่ง่อนดำเนินการต่อไป
นับเป็นการยุติการรบของทหารไทยในสงครามเวียดนาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วีรกรรมของทหารไทยที่ได้ไปปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ.2509-2515
ได้รับการสรรเสริญยกย่องจากนานาประเทศ ในความกล้าหาญ ความมี วินัย
และความเสียสละ เพื่อส่วนรวมเป็นอันมาก
พิเศษ จากเรา
- ราคาที่นำเสนอพิเศษสุดกว่าที่อื่น แต่มากด้วยคุณภาพกว่ามากมาย
- มีการชี้แนะสินค้าที่ควรซื้อให้ในราคาถูก ๆ ไม่มีจุดประสงค์ในการพาไปเชือดเหมือนทัวร์ทั่วไป
- เราแจกหมวก ให้คนละ 1 ใบ
- แจกกระเป๋าสะพายให้ 1 ใบ
- แจก ยาหม่องน้ำ ให้ 1 ขวด
- แจก พัดมือถือ คนละ 1 อัน 555
สนใจในการจอง
โอนเงินมัดจำ ในการจอง ทัวร์ คนละ 10,000 บาท
ชำระส่วนที่เหลือให้หมดก่อน 15 วัน ของวันเดินทาง
โอนมาที่ ธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง ในนาม สมปอง เจนชัยจิตรวนิช
ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา สาขา สี่แยกวังหิน บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 2140013280
ธนาคาร กสิกรไทย สาขา รัชดา-ห้วยขวาง ในบัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 089-1069251
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาย่อย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า บัญชี ออมทรัพย์ เลขที่ 183-2 10718-9
ธนาคาร กรุงเทพ สาขาย่อย เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 095-0-20209-3
หลังการโอนเงิน
กรุณา ส่งหลักฐานต่างๆ ที่แจ้งไว้ด้านล่างนี้ มาที่............
- Fax 02-9481866, 02-9482065 รอสัญญาณ แฟกต์
- หรือ สแกนหลักฐาน ส่งมาที่ อีเมล์ jenchai624@hotmail.com
- สำเนาการโอนเงิน
- เบอร์โทรติดต่อกลับ ของ ผู้จอง และเพื่อนร่วมทาง
- กำหนดวันเดินทาง / ทริปที่ไป / วันเดินทาง
- หากไปต่างประเทศ ขอสำเนาพาสปอต
- สำเนาบัตรประชาชน กรณี ยังไม่มีพาสปอตในขณะนั้น ( ใช้ในการจองตั๋วเครื่องบิน )
สมปอง ทัวร์ /
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว เลขที่ 11 / 05588
Website : www.programtour.com
Email : jenchai624@hotmail.com
Chat : msn : jenchai624@hotmail.com
Chat : Skype : jenchai624
Office 1 : : ตลิ่งชัน 02-8867018-9
Office 2 : รามอินทรา : 02-9481866, 02-9482065
Mobile : ไทย : 089-9246304, 087-5149753,
Mobile : เวียดนาม : 091-6003612
กรุณาอ่านหมายเหตุให้ละเอียดทั้ง 5 ข้อ
หมายเหตุ
1. บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อค่าชดเชยความเสียหาย ไม่ว่ากรณีที่กองตรวจคนเข้าเมือง
ของไทยไม่อนุญาตให้เดินทางออกหรือกองตรวจคนเข้าเมืองของแต่ละประเทศไม่อนุญาตให้เข้าเมือง
2. บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ในการที่จะไม่รับผิดชอบต่อค่าชดเชยความเสียหาย อันเกิดจากเหตุสุดวิสัยที่ทาง
บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การนัดหยุดงาน, จลาจล, การล่าช้าหรือยกเลิกของเที่ยวบิน
3. บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมรายการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
4. บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
5. กรณีที่คณะไม่ครบจำนวน 15 ท่าน ทางบริษัทฯ สงวนสิทธิ์ในการงดออกเดินทาง
โดยทางบริษัทฯ จะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า 14 วันก่อนการเดินทาง
*** ในกรณีที่ลูกค้าต้องออกตั๋วโดยสารภายในประเทศ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ก่อนทุกครั้ง มิฉะนั้นทางบริษัทฯ จะไม่ขอรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ***
โปรแกรมและรายละเอียดของการเดินทางอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะอากาศ
และเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าโดยทางบริษัทฯ จะคำนึงถึงผลประโยชน์และ
ความปลอดภัยของผู้ร่วมเดินทางเป็นสำคัญ
อัตรานี้รวม
- ค่าตั๋วเครื่องบิน ชั้นนักท่องเที่ยว ( Economy Class) ที่ระบุวันเดินทางไป-กลับพร้อมคณะ (ในกรณีมีความ
ประสงค์อยู่ต่อ จะต้องไม่เกินจำนวนวัน จำนวนคนและมีค่าใช้จ่ายที่ทางสายการบินกำหนด)
- ค่าภาษีสนามบินทุกแห่งตามรายการ
- ค่ารถโค้ชปรับอากาศนำเที่ยวตามรายการ พร้อมคนขับรถที่ชำนาญเส้นทาง
- ค่าห้องพักในโรงแรมตามที่ระบุในรายการหรือเทียบเท่า
- ค่าอาหารตามที่ระบุในรายการ
- ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวตามรายการ
- ค่ายกกระเป๋าเดินทางท่านละ 1 ใบ (น้ำหนัก 20 กิโลกรัม) / (โรงแรมที่พักบางแห่งอาจไม่มีคนขนกระเป๋า)
- ค่าประกันภัยอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง(วงเงินประกันอุบัติเหตุสูงสุด ท่านละไม่เกิน 1,000,000 บาทและ วงเงินประกันสุขภาพสูงสุด ท่านละไม่เกิน 1,500,000)
- ค่ามัคคุเทศก์ของบริษัทดูแลตลอดการเดินทาง
อัตรานี้ไม่รวม
- ค่าธรรมเนียมการจัดทำหนังสือเดินทาง
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว อาทิเช่น ค่าเครื่องดื่มที่สั่งพิเศษ , ค่าโทรศัพท์ , ค่าซักรีด, ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง,
- ค่าน้ำหนักเกินจากทางสายการบินกำหนดเกินกว่า 20 ก.ก.และมากกว่า 1 ชิ้น,
- ค่ารักษาพยาบาล กรณีเกิดการเจ็บป่วยจากโรคประจำตัว, ค่ากระเป๋าเดินทางหรือของมีค่าที่สูญหายในระหว่างการเดินทาง เป็นต้น
- ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าธรรมเนียมน้ำมันและภาษีสนามบิน ในกรณีที่สายการบินมีการปรับขึ้นราคา
- ค่าทิปมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและพนักงานขับรถตลอดรายการเดินทาง
เงื่อนไขการจอง
วางเงินมัดจำท่านละ 10,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชี ที่นั่งจะยืนยันเมื่อได้รับเงินมัดจำแล้วเท่านั้น
หมายเหตุ
- บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ยกเลิกการเดินทางก่อนล่วงหน้า 14 วัน ในกรณีที่ไม่สามารถทำกรุ๊ปได้อย่างน้อย 15 ท่าน
ในกรณีนี้บริษัทฯ ยินดีคืนเงินให้ทั้งหมด หรือจัดหาคณะทัวร์อื่นให้ถ้าต้องการ
- บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการในทัวร์นี้ เมื่อเกิดเหตุจำเป็นสุดวิสัยจนไม่อาจแก้ไขได้
และจะไม่รับผิดชอบใดๆ ในกรณีที่สูญหาย สูญเสีย หรือได้รับบาดเจ็บที่นอกเหนือความรับผิดชอบของหัวหน้าทัวร์
และอุบัติเหตุสุดวิสัยบางประการ เช่น การนัดหยุดงาน, ภัยธรรมชาติ, การจลาจลต่างๆ เป็นต้น
เงื่อนไขการสำรองที่นั่ง
- กรุณาจองล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนการเดินทาง และกรุณาเตรียมเงินมัดจำ 10,000 บาท
พร้อมกับเตรียมเอกสารส่งให้เรียบร้อย ภายใน 2-3 วัน หลังจากทำการจองแล้ว
- การชำระค่าทัวร์ส่วนที่เหลือทางบริษัทฯ จะเรียกเก็บก่อนเดินทางไม่น้อยกว่า 15 วัน ท่านควรจัดเตรียมค่าทัวร์ให้เรียบร้อยก่อนกำหนด
เนื่องจากทางบริษัทต้องสำรองค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าที่พักและตั๋วเครื่องบิน มิฉะนั้นจะถือว่าท่านยกเลิกการเดินทางโดยอัตโนมัติ
กรณียกเลิกการเดินทาง
- ยกเลิกก่อนการเดินทาง 30 วันขึ้นไป คืนเงินทั้งหมด
- ยกเลิกก่อนการเดินทาง 15 วันขึ้นไป เก็บค่าใช้จ่าย ท่านละ 10,000 บาท
- ยกเลิกก่อนการเดินทาง 10 วัน เก็บค่าใช้จ่ายทั้งหมด 100% ของราคาทัวร์
- ยกเว้นกรุ๊ปที่เดินทางช่วงวันหยุดหรือเทศกาลที่ต้องการันตีมัดจำกับสายการบินหรือค่ามัดจำที่พักโดยตรงหรโดยการผ่านตัวแทนในประเทศ
หรือต่างประเทศและไม่อาจขอคืนเงินได้ รวมถึงเที่ยวบินพิเศษเช่น Extra Flight และ Charter Flight จะไม่มีการคืนเงินมัดจำ
หรือค่าทัวร์ทั้งหมดเนื่องจากค่าตั๋วเป็นการเหมาจ่ายในเที่ยวบินนั้นๆ
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายทั้งหมดกรณีท่านยกเลิกการเดินทางและมีผลทำให้คณะเดินทางไม่ครบตามจำนวนที่บริษัทฯกำหนดไว้ (15ท่านขึ้นไป)
เนื่องจากเกิดความเสียหายต่อทางบริษัทและผู้เดินทางอื่นที่เดินทางในคณะเดียวกัน บริษัทต้องนำไปชำระค่าเสียหายต่างๆที่เกิดจากการยกเลิกของท่าน
- กรณีเจ็บป่วย จนไม่สามารถเดินทางได้ ซึ่งจะต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรับรอง บริษัทฯ จะทำการเลื่อนการเดินทางของท่านไปยังคณะต่อไป
แต่ทั้งนี้ท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกคืนได้คือ ค่าธรรมเนียมในการมัดจำตั๋ว และค่าธรรมเนียมวีซ่าตามที่สถานทูตฯ เรียกเก็บ ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางได
- กรณีผู้เดินทางไม่สามารถเข้า-ออกเมืองได้ เนื่องจากเอกสารปลอมหรือการห้ามของเจ้าหน้าที่ไม่ว่าเหตุผลใดๆ ก็ตาม
ทางบริษัทของสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนค่าทัวร์ทั้งหมด
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องตั๋วเครื่องบิน
- ในการเดินทางเป็นหมู่คณะ ผู้โดยสารจะต้องเดินทางไป-กลับพร้อมกัน หากต้องการเคลื่อนวันเดินทางกลับ ท่านจะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่สายการบิน และบริษัททัวร์เรียกเก็บและการจัดที่นั่งของกรุ๊ป เป็นไปโดยสายการบินเป็นผู้กำหนด ซึ่งทางบริษัทฯ ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้ และในกรณียกเลิกการเดินทาง และได้ดำเนินการ ออกตั๋วเครื่องบินไปแล้ว (กรณีตั๋ว REFUNDได้) ผู้เดินทางต้องรอ REFUND ตามระบบของสายการบินเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโรงแรมที่พัก
++ เนื่องจากการวางแปลนห้องพักของแต่ละโรงแรมแตกต่างกัน จึงอาจทำให้ห้องพักแบบห้องเดี่ยว (Single) และห้องคู่ (Twin/Double) และห้องพักแบบ 3 ท่าน/3 เตียง (Triple Room) ห้องพักอาจจะไม่ติดกัน
++ กรณีที่มีงานจัดประชุมนานาชาติ (Trade Fair) เป็นผลให้ค่าโรงแรมสูงขึ้นมากและห้องพักในเมืองเต็ม บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนหรือย้ายเมืองเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
++ โรงแรมในสิงคโปร์ที่มีลักษณะเป็น Traditional Building ห้องที่เป็นห้องเดี่ยวอาจเป็นห้องที่มีขนาดกะทัดรัต และไม่มีอ่างอาบน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงแรมนั้นๆ และห้องแต่ละห้องอาจมีลักษณะแตกต่างกันด้วย
การเดินทางเป็นครอบครัว
หากท่านเดินทางเป็นครอบครัวใหญ่ หรือเดินทางพร้อมสมาชิกในครอบครัวที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Wheelchair), เด็ก, และผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ไม่สะดวกในการเดินท่องเที่ยวในระยะเวลาเกินกว่า 4-5 ชั่วโมงติดต่อกันท่านและครอบครัวต้องให้การดูแลสมาชิกภายในครอบครัวของท่านเอง เนื่องจากการเดินทางเป็นหมู่คณะ หัวหน้าทัวร์มีความจำเป็นต้องดูแลคณะทัวร์ทั้งหมด
ข้อความซึ่งถือเป็นสาระสำหรับท่านผู้มีเกียรติซึ่งร่วมเดินทาง
ทางบริษัทฯ เป็นตัวแทนในการจัดนำสัมมนา และการเดินทางที่มีความชำนาญ โดยจัดหาโรงแรมที่พัก อาหาร ยานพาหนะ และสถานที่ท่องเที่ยวพร้อมทั้งการสัมมนา ดูงาน เพื่อความสะดวกสบาย และเกิดประโยชน์สูงสุดในการเดินทาง ทั้งนี้ทางบริษัทฯ ไม่สามารถรับผิดชอบในอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่เกิดจากโรงแรมที่พัก ยานพาหนะ, อันเนื่องจากอุบัติเหตุรวมถึงภัยธรรมชาติ, โจรกรรม, วินาศกรรม, อัคคีภัย, การผละงาน, การจลาจล, สงครามการเมือง, การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ, การนัดหยุดงาน, ความล่าช้าของเที่ยวบิน, สายการเดินเรือ, รถไฟ, พาหนะท้องถิ่น, ตลอดจนการถูกปฏิเสธออกวีซ่าจากกงสุล และ / หรือ ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับสถานเอกอัครราชทูต รวมถึงผู้มีอำนาจทำการแทนประจำประเทศไทย (โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผล เนื่องจากเป็นสิทธิพิเศษทางการทูต) ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทฯ หมายรวมถึงในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวทั้งใน หรือ ต่างประเทศ แต่ทางบริษัทฯ มีความคุ้มครอง และประกันอุบัติเหตุ ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ ที่รับประกันในกรณีที่ผู้ร่วมเดินทางถูกปฏิเสธโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย และ/หรือ ต่างประเทศ มิให้เดินทางออก หรือ เข้าประเทศ เนื่องมาจากความประพฤติ พฤติกรรมของผู้เดินทาง ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านการความคุมโรคติดต่อเฉพาะพื้นที่มีการปลอมแปลงเอกสารเพื่อการเดินทาง รวมถึงมีสิ่งผิดกฎหมาย บริษัทฯ จะไม่คืนค่าใช้จ่ายใดๆ รายละเอียดด้านการเดินทาง อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น หรือเพื่อความเหมาะสมทั้งปวง โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ทั้งนี้การขอสงวนสิทธิดังกล่าว บริษัท จะยึดถือและคำนึงถึงผลประโยชน์ตลอดจนความปลอดภัยของท่านผู้มีเกียรติ ซึ่งร่วมเดินทางเป็นสำคัญ
พิเศษ จากเรา
- ราคาที่นำเสนอพิเศษสุดกว่าที่อื่น แต่มากด้วยคุณภาพกว่ามากมาย
- มีการชี้แนะสินค้าที่ควรซื้อให้ในราคาถูก ๆ ไม่มีจุดประสงค์ในการพาไปเชือดเหมือนทัวร์ทั่วไป
- เราแจกหมวก ให้คนละ 1 ใบ
- แจกกระเป๋าสะพายให้ 1 ใบ
- แจก ยาหม่องน้ำ ให้ 1 ขวด
- แจก พัดมือถือ คนละ 1 อัน 555
สนใจในการจอง
โอนเงินมัดจำ ในการจอง ทัวร์ คนละ 10,000 บาท
ชำระส่วนที่เหลือให้หมดก่อน 15 วัน ของวันเดินทาง
โอนมาที่ ธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง ในนาม สมปอง เจนชัยจิตรวนิช
ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา สาขา สี่แยกวังหิน บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 2140013280
ธนาคาร กสิกรไทย สาขา รัชดา-ห้วยขวาง ในบัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 089-1069251
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาย่อย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า บัญชี ออมทรัพย์ เลขที่ 183-2 10718-9
ธนาคาร กรุงเทพ สาขาย่อย เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 095-0-20209-3
หลังการโอนเงิน
กรุณา ส่งหลักฐานต่างๆ ที่แจ้งไว้ด้านล่างนี้ มาที่............
- Fax 02-9481866, 02-9482065 รอสัญญาณ แฟกต์
- หรือ สแกนหลักฐาน ส่งมาที่ อีเมล์ jenchai624@hotmail.com
- สำเนาการโอนเงิน
- เบอร์โทรติดต่อกลับ ของ ผู้จอง และเพื่อนร่วมทาง
- กำหนดวันเดินทาง / ทริปที่ไป / วันเดินทาง
- หากไปต่างประเทศ ขอสำเนาพาสปอต
- สำเนาบัตรประชาชน กรณี ยังไม่มีพาสปอตในขณะนั้น ( ใช้ในการจองตั๋วเครื่องบิน )
สมปอง ทัวร์ /
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว เลขที่ 11 / 05588
Website : www.programtour.com
Email : jenchai624@hotmail.com
Chat : msn : jenchai624@hotmail.com
Chat : Skype : jenchai624
Office 1 : : ตลิ่งชัน 02-8867018-9
Office 2 : รามอินทรา : 02-9481866, 02-9482065
Mobile : ไทย : 089-9246304, 087-5149753,
Mobile : เวียดนาม : 091-6003612 |